Cute Unicorn

วันพุธที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

สรุปวิจัย

การเปรียบเทียบความพรอมทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัย ที่จัดประสบการณโดยใชเกมการศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณตามคูมือครู

วิทยานิพนธของ นางสุธีรา ทาวเวชสุวรรณ
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากรปการศึกษา 2548


วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อเปรีบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของเด็กปฐมวัย ที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
สมมติฐานของการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู มีความพร้อมทางคณิตศาสตร์แตกต่างกัน
สรุปผลการวิจัย
1. หลังการจัดประสบการณของเด็กปฐมวัย กลุมทดลองที่จัดประสบการณโดยใชเกมการศึกษาและเพลง สูงกวากลุมควบคุมที่จัดประสบการณตามคูมือครู โดยเรื่องการจับคูหนึ่งตอหนึ่ง ไดคะแนนเฉลี่ย สูงสุด สวนเรื่องการนับจํานวนเพิ่ม – ลด ไดคะแนนเฉลี่ยต่ําที่สุด 2. ความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปที่ 2 ที่มีตอวิธีการจัดประสบการณโดยใช เกมการศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณตามคูมือครู พบวา เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปที่ 2 กลุมทดลองที่จัดประสบการณโดยใชเกมการศึกษาและเพลงโดยภาพรวมมีระดับความพอใจมากใน ทุกดาน

ตัวอย่างเครื่องมือและแผนที่ใช้ในวิจัย
















สรุปตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตัวเลขกับเด็กอนุบาล
      ครูอแมนดา แม็กเคนนา หัวหน้าครูระดับชั้นป.1-2 ครูที่โรงเรียนประถมเกรตบาร์ ในเบอร์มิงแฮม เชื่อว่าการเรียนคณิตศาสตร์ควรสนุกและเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ที่โรงเรียนเกรตบาร์ การเรียนรู้อย่างอิสระผ่านการเล่นเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ของนักเรียน 

      ขณะนี้โรงเรียนกำลังมุ่งส่งเสริมให้เด็กๆรู้สึกเป็นอิสระที่จะขบแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ด้วยต้วเอง และพัฒนาทักษะเช่น การจดจำตัวเลข การจัดลำดับและการคำนวณไปด้วย ในรายการครูจะสาธิตวิธีประเมินเด็กๆผ่านการสังเกตการณ์ในแต่ละวัน และวิธีนำข้อมูลที่ได้เข้าที่ประชุมครูเพื่อวางแผนการสอนต่อไป โรงเรียนเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า หากเด็กๆรู้สึกสนุกกับวิชาเลขตั้งแต่ชั้นเล็กๆแล้ว ผลการเรียนรู้ในชั้นปีอื่นๆก็จะเปลี่ยนไปในทางดีด้วย
     
image

สื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


อุปกรณ์
1. ขวดน้ำและฝาขวดน้ำที่ใช้แล้ว
2. กระดาษสี
3. กรรไกร
4. กาว
5. ดินสอสี
วิธีทำ
1. ตัดขวดน้ำบริเวณจากฝาขวดลงมาประมาณ3นิ้ว
2. ตัดกระดาษสีเป็นรูปต้นไม้ แล้ววาดรูปแอปเปิ้ลลงบนต้นไม้
3. นำขวดน้ำที่เราตัดแล้ว มาติดกาวยืดติดกับกระดาษ
4. วาดแอปเปิ่้ลให้ขนาดพอดีกับฝาขวดน้ำ
5. ตัดกระดาษเป็นวงกลม2แผ่น แบ่งช่องให้เท่าๆกัน4-6ช่อง เขียนจำนวนบวก และจำนวนลบอย่างละ1แผ่น
6. เจาะรูตรงกลางกระดาษวงกลม ใช้กระดาษแข็งตัดเป็นรูปลูกศรให้หมุนได้
7. นำไปทดลองใช้จริง
จะได้อะไรจากสื่อชิ้นนี้?
-เด็กสามารถบวกลบจำนวนได้
-เด็กจะได้เรียนรู้เลขฮินดูอารบิก
-เด็กได้ฝึกหมุนฝาขวด ช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก

image
สรุปบทความคณิตศาสตร์
เรื่อง เจาะคณิตศาสตร์ปฐมวัย 
พ่อแม่ทราบหรือไม่ลูกๆเรียนอะไรกัน
          สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นวัยเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต ชอบเล่น และสำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว การส่งเสริมให้เด็กในวัยนี้มีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ ไม่เพียงส่งผลให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ในศาสตร์อื่น ๆ คณิตศาสตร์จึงมีบทบาทสำคัญทั้งในการเรียนรู้และมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต
         ส่วนเทคนิคจูงใจให้เด็กๆ สนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์อีกประการหนึ่งคือ ให้เด็กได้เรียนรู้ และค้นพบสิ่งท้าทาย ด้วยกิจกรรม และเกมที่ช่วยฝึกทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กได้ร่วมสนุกพร้อมสอดแทรกเนื้อหาความรู้เข้าไปนั่นเอง ซึ่งหากไม่มีในหนังสือที่โรงเรียนจัดหามาให้ ก็อาจไปหาซื้อเองได้ตามร้านหนังสือทั่วไป ซึ่งเป็นโอกาสดีของพ่อแม่ในยุคนี้ที่ (เคยไม่ชอบคณิตศาตร์เอาเสียเลย) จะได้ลองเรียนรู้ และหากิจกรรมสนุก ๆ มาเล่นกับลูกไปพร้อม ๆ กับการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

วันพุธ ที่3 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

   วันนี้พวกเราได้นำเสนอสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่แต่ละกลุ่มได้คิดประดิษฐ์ขึ้นมา โดยในกลุ่มของหนูได้ทำสื่อที่มีชื่อว่า "โรงเรียนหรรษา" เดี๋ยวเราลองไปดูขั้นตอนการทำกันเลย

อุปกรณ์
1. ฟิวเจอร์บอร์ด
2. กระดาษสีแข็ง    
3. แกนกระดาษทิชชู่  
4. ฝาขวดน้ำ 
5. แผ่นใส  
6. เทปกาว
วิธีการทำ 
1. ตัดฟิวเจอร์บอร์ดออกมาแล้วทำเป็นตัวฐาน
2. พับกล่องที่มีขนาดต่างกัน 5 กล่อง
3. นำกล่องและแกนกระดาษทิชชู่ที่หุ้มกระดาษสีแล้วมาติดเข้ากับฟิวเจอร์บอร์ด
4. ทำที่ใส่ตัวเลขให้ติดกับตัวกล่องที่พับขึ้นมา โดยใช้เทปกาวหนังไก่และแผ่นใส
5. ตัดประดาษสีแปะกับกระดาษแข็งทำเป็นหลังคาให้ดูคล้ายกับโรงเรียน
วิธีการเล่น 
นำฝาที่นำมาหยอดใส่กล่องทั้ง 2 ฝั่ง และนำตัวเลขฮินดูอารบิกมาแทนค่าจำนวนฝาที่หยอดลงไป ฝาจะไหลลงมาที่กล่องใหญ่ นับจำนวนฝาและแทนค่าด้วยเลขฮินดูอารบิก

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

เด็กๆจะได้สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่องจำนวน การใช้จำนวนบอกปริมาณและนำฝามาจัดแยกหมวดหมู่โดยการตั้งเกณฑ์ได้ และยังได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงเรขาคณิตจากรูปทรงของโรงเรียนหรรษา
และอาจารย์ได้บอกว่า การที่ได้จัดทำสื่อขึ้นมาแล้วควรที่จะทำให้ดีที่สุด ใช้ได้นานๆ สามารถนำไปสอนได้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ไม่ใช่เล่นได้แบบเดียว และเราควรคำนึงถึงค่าใช้จ่าย พยายามใช้สื่อที่เราหาได้ทั่วๆไป

image

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

วันพุธ ที่26 เมษายน พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้ในแต่ละกลุ่มได้ออกไปทดลองสอบแผนให้อาจารย์จ๋าดู จะมีทั้งหมด5กลุ่ม และแต่ละกลุ่มมีตัวแทน1คนเป็นตัวแทนของกลุ่มออกไปสอน โดยคนที่เหลือก็ช่วยเพื่อนเตรียมสื่อ และออกไปเป็นผู้ช่วยให้เพื่อนด้วย
วันจันทร์ หน่วยเรื่อง กระเป๋า (ชนิดของกระเป๋า)
วันอังคาร หน่วยเรื่อง บ้าน (ลักษณะของบ้าน)
วันพุธ หน่วยเรื่อง ยานพาหนะ (การดูแลรักษาของยานพาหนะ)
วันพฤหัสบดี หน่วยเรื่อง กระต่าย (ประโยชน์ของกระต่าย)
วันศุกร์ หน่วยเรื่อง เสื้อ (ข้อพึงระวังของเสื้อ)


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

การสอบสอนในครั้งนี้ ทำให้เราได้รู้จักเขียนแผนและการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กหลากหลาย เพราะแผนที่ทุกคนเขียนก็ไม่เหมือนกัน ทุกคนมีแนวทางการเขียนเป็นของตัวเอง แต่ท้ายที่สุดเป้าหมายเราก็จะเหมือนกันคือการสอนเด็กออกมาให้ดีที่สุด รวมทั้งอาจารย์ได้เสนอแนะ ในสิ่งที่เรามองไม่เห็น เราคิดว่ามันดีแล้ว แต่จริงๆมันยังมีข้อผิดพลาดอีกเยอะมาก ในครั้งต่อไปเราจะปรับปรุงการสอนให้ดียิ่งขึ้นค่ะ


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วันพุธ ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอสื่อของตนเองที่ได้หามา ร่วมกันวิเคราะห์ว่าสื่อชิ้นนี้เหมาะสมหรือไม่ และในแต่ละชิ้นมีข้อดี ข้อเสียคืออะไร สามารถนำไปจัดกิจกรรมกับเด็กได้อย่างไรบ้าง

ประโยชน์ที่จะได้รับ

-ได้พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก จากการหมุนฝาขวดนำ
-เด็กได้เรียนรู้เรื่องจำนวน
-สามารถบวกลบจำนวนได้