Cute Unicorn

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันพุธ ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย (ต่อจากครั้งที่แล้ว)

สาระที่ 3 เรขาคณิต
-มาตรฐาน ค.ป. 3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง
-มาตรฐาน ค.ป. 3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต
ตำแหน่งทิศทางและระยะทาง
-การบอกตำแหน่ง
รูปเรขาคณิตสามมิติ และรูปเรขาคณิต2มิติ
-ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย
-รูปวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม
-การสร้างสรรค์ศิลปะ รูปเรขาคณิต

สาระที่ 4 พีชคณิต
-มาตรฐาน ค.ป. 4.1 แบบรูปและความสัมพันธ์ แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง

สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.ป. 5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเอง

สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
แก้ปัญหา การใช้เหตุผล

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

วันนี้ได้เรียนรู้มาตรฐานของคณิตศาตร์ครบแล้ว ทำให้เรารู้ว่าแต่ละสาระมีอะไรบ้าง เพราะเหล่านี้จะเป็นความรู้พื้นฐานที่เราควรรู้ เพื่อเป็นความรู้ที่เราจะเอาไปไว้ประกอบการสอนเด็กๆต่อไป



วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันพุธ ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

              ความรู้เชิงคณิตศาสตร์ มี 4 ประเภท
-ความรู้ทางกายภาพ (Physical Knowledge)
ความรู้ที่ได้จากการสังเกตสิ่งต่างๆด้วยการรับรู้จากประสาทสัมผัส ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
-ความรู้ทางสังคม (Social Knowledge)
ความรู้ที่ได้จากการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น เป็นสิ่งที่เราได้รับจากการเรียนรู้
-ความรู้เชิงตรรกศาสตร์คณิตศาสตร์ (Logical-mathematic Knowledge)
การเข้าใจความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ จากการสังเกต สำรวจ และทดลอง กระทำสิ่งต่างๆ
-ความรู้เชิงสัญลักษณ์ (Symbolic Knowledge)
การแสดงสิ่งที่เรียนรู้ด้วยสัญลักษณ์ สามารถสร้างเป็นความรู้เชิงตรรกะคณิตศาสตร์

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
เป็นการประเมินคุณภาพขั้นต่ำ ใช้ในการประเมินและตัดสินใจ
สาระและมาตรฐาน
-จำนวนและการดำเนินการ
-การวัด
-เรขาคณิต
-พีชคณิต
-การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
-ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค..11 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
จำนวน
-การใช้การบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
-การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
-การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
-การเปรียบเทียบจำนวน
-การเรียงลำดับจำนวน
การรวมและการแยกกลุ่ม
-ความหมายของการรวม
-การรวมสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่มีผลไม่เกิน10
-ความหมายของการแยก
-การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ จำนวนไม่เกิน10
สาระที่ 2 การวัด
มาตรฐาน ค..21 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา ความยาว น้ำหนัก และปริมาตร
การเปรียบเทียบ/การวัด/การเรียงลำดับ
การเปรียบเทียบ/การชั่ง/การเรียงลำดับน้ำหนัก
การเปรียบเทียบปริมาตร/การตวง
เงิน
-ชนิดและค่าของเงิน
เวลา
-ช่วงเวลาในแต่ละวัน
ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

เราสามารถจดจำความรู้ในอาทิตย์นี้ไปสอบบรรจุได้เลย และไม่เคยรู้มาก่อนว่าสาระและมาตรฐานคืออะไรค่ะ จนได้มาเรียนในคาบนี้

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันพุธ ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560

**ไม่ได้มาเรียน เนื่องจากอาหารเป็นพิษ ขออนุญาตินำข้อมูลจากblogของณัชชา มาอ้างอิงค่ะ**

ความรู้ที่ได้รับ

ความหมายของคณิตศาสตร์
   - วิชาว่าด้วยการคำนวณทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ การนับ การคำนวณ การประมาณ มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน เด็กใช้คณิตศาสตร์อย่างง่ายจากความคิดของตนเองแล้วค่อยๆพัฒนาถึงความคิดแบบคณิตศาสตร์อย่างถูกต้อง

ความสำคัญของคณิตศาสตร์
   - คณิตศาสตร์เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ เป็นวิชาเกี่ยวกับการคิดที่มีเหตุผลสามารถพิสูจน์ได้ เป็นเครื่องมือที่ใช้ฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ สร้างคนให้มีนิสัยรอบคอบ และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ประโยชน์ของคณิตสาสตร์
   - ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน คณิตศาสตร์จะนำเด็กไปสู่ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
   ➤การนับ (Counting)                    ➤ตัวเลข (Number)                     ➤การจับคู่ (Matching) 
   ➤การจัดประเภท (Classification)  ➤การเปรียบเทียบ (Comparing)   ➤การจัดลำดับ (Ordering)
   ➤การวัด(Meusurement)              ➤เศษส่วน (Fraction)                  ➤เซ็ต (Set)
   ➤รูปทรงหรือเนื้อที่ (Shape and Space)           ➤การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning)
   ➤การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservation)

เพลงคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย

 

เพลงนับนิ้วมือ
นี่คือนิ้วมือของฉัน           มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว          มือขวาก็มีห้านิ้ว
นับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า                       นับต่อมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบ
นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ                      นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ


เพลงลูกแมวสิบตัว
ลูกแมวสิบตัวที่ฉันเลี้ยงไว้        น้องขอให้แบ่งไปหนึ่งตัว
ลูกแมวสิบตัวก็เหลือน้อยลงไป       นับดูใหม่เหลือลูกแมวเก้าตัว
(นับน้อยลงไปเรื่อยๆ)


เพลงแม่ไก่ออกไข่
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง ไข่วันฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน หนึ่งวันได้ไข่หนึ่งฟอง
(นับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ)


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

การสอนแบ่งกลุ่ม เช่น แบ่งเด็กที่ตื่นก่อน 6 โมงเช้ากับตื่นหลัง 6 โมงเช้า โดยใช้ป้ายชื่อที่เด็กได้ออกแบบขึ้นไปแปะตามเวลาตื่นของตนเอง สามารถช่วยสอนเรื่องเวลา การนับจำนวน เอาเรื่องการอนุรักษ์ (conservation) เข้ามาใช้ นอกจากนี้เด็กยังได้พัฒนาสติปัญญาในด้านความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบป้ายชื่อด้วย