Cute Unicorn

วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันพุธ ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

*เนื่องจากในวันนี้อาจารย์ติดธุระงานมหาวิยาลัย*

จึงได้ทำบอร์ดงานตามที่ได้รับมอบหมายไว้เป็นกลุ่ม





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วันพุธ ที่15 มีนาคม พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์แจกดินน้ำมัน ให้แต่ละคนปั้นรูปทรงต่างๆของตนเอง

หลังจากนั้นอาจารย์ให้นำไปรวมกับเพื่อนอีก1คนแล้วสร้างขึ้นมาเป็นรูปทรงใหม่ โดยสร้างออกมาเป็นรูปร่างสามมิติ และหลังจากนั้นนำไปวางหน้าชั้นเรียน เพื่อวิเคราะห์กันว่าแต่ละแบบต่างกันอย่างไร

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

จากการเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้สอนเด็ก เด็กจะได้รู้เกี่ยวกับรูปทรงเรขาคณิตรูปทรงต่างๆ และยังมีการสังเกต เปรียบเทียบ มีด้านกี่ด้าน มีมุมกี่มุมอีกด้วย


วันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วันพุธ ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

            อาจารย์สอนการคาดคะเนลูกอมในขวดโหลว่ามีทั้งหมดกี่เม็ด ทำให้เด็กได้ฝึกการใช้ความคิดวิเคราะห์ คาดคะเนข้อมูลและความน่าจะเป็น ซึ่งการเรียนสอดคล้องกับสาระที่4 มาตรฐาน ค.ป. 4.1
การนับจำนวนลูกอมและใช้ตัวเอขเป็นตัวกำกับ สอดคล้องกับสาระที่ 1 มาตรฐาน ค.ป. 1.1

        และในวันเดียวกันอาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ของกลุ่มตัวเอง ซึ่งแต่ละกลุ่มหัวข้อจะไม่ซ้ำกัน โดยแบ่งการสอนออกเป็น5วัน โดยกำหนดหัวเรื่องให้สอดคล้องกับเด็ก และในอาทิตย์หน้าต้องออกมาแบ่งกันสอนคนละหัวข้อ ให้ครบ5วัน

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

การที่เรานำสิ่งที่มีอยู่รอบๆตัวมาประยุกต์ใช้ในการสอนคณิตศาสตร์ และเราต้องยึดและคำนึงถึงตัวเด็กเป็นสำคัญ ว่าสิ่งที่เราสอนเขาจะได้พัฒนาการอะไรไปจากเรา และรวมไปถึงให้สอดคล้องกับมาตรฐานสาระการเรียนรู้อีกด้วย

image

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันพุธ ที่ 15 ภุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

Project Approach
"ในหลวง" แบ่งการดำเนินออกเป็น3ระยะ ได้แก่
-ระยะที่ 1 ระยะเริ่มต้น ครูและเด็กแลกเปลี่ยนประสบการณ์เดิม ตั้งคำถาม โดยได้คำถามที่น่าสนใจ คือ ข้าวสามารถทำอาหารอะไรได้บ้าง
-ระยะที่ 2 ระยะพัฒนา คุณครูจัดโครงการขึ้นมา ทำให้เด็กเกิดประสบการณ์ใหม่ โดยเด็กๆและครูได้ร่วมกันทำ ไข่พระอาทิตย์
-ระยะที่ 3 ระยะสรุป คุณครูได้จัดให้เด็กแลกเปลี่ยนความรู้ ประเมินผลสะท้อนกลับจากการทำไข่พระอาทิตย์ แล้วยังใช้หลักการ STEM เข้ามาช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้
            ได้แก่            Science            วิทยาศาสตร์
                                 Technology      เทคโนโลยี
                                 Engineering     วิศวกรรมศาสตร์
                                 Mathematics    คณิตศาสตร์

สื่อนวัตกรรมการสอน
"สื่อที่ไม่พังคือสื่อที่ไม่มีคุณภาพ"
ถ้าสื่อชิ้นใดที่เด็กได้เล่นหรือจับอยู่บ่อยๆ สภาพก็จะขาดชำรุด แต่ถ้าสื่อดูสวยงามอยู่ คือเด็กไม่จับเล่น ไม่น่าสนใจนั่นเอง


แผนการจัดการเรียนรู้
ในการจัดการเรียนการสอนของรัฐบาลและเอกชนมีความแตกต่างกัน มีวิธีการเขียนแผนการสอนที่แตกต่างกัน แต่เน้นการพัฒนาการเด็กทั้ง4ด้านของเด็กเหมือนกัน ครูจะไม่สอนให้เด็กหัดเขียนหัดอ่าน เพราะเด็กจะไม่ได้พัฒนาการทักษะที่เป็นไปตามวัย

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

พี่ๆปฐมวัยชั้นปีที่5 ได้ให้ความรู้ที่หลากหลายในการที่จะนำไปเสริมประสบการณ์ให้กับเด็กในอนาคต ทั้งวิธีเรียนแบบProject approach เรียนรู้สื่อนวัตกรรมที่ไว้เาริมประสบการณ์ให้กับเด็กๆ และแผนการจัดการเรียนการสอน