Cute Unicorn

วันพุธที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

สรุปวิจัย

การเปรียบเทียบความพรอมทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัย ที่จัดประสบการณโดยใชเกมการศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณตามคูมือครู

วิทยานิพนธของ นางสุธีรา ทาวเวชสุวรรณ
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากรปการศึกษา 2548


วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อเปรีบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของเด็กปฐมวัย ที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
สมมติฐานของการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู มีความพร้อมทางคณิตศาสตร์แตกต่างกัน
สรุปผลการวิจัย
1. หลังการจัดประสบการณของเด็กปฐมวัย กลุมทดลองที่จัดประสบการณโดยใชเกมการศึกษาและเพลง สูงกวากลุมควบคุมที่จัดประสบการณตามคูมือครู โดยเรื่องการจับคูหนึ่งตอหนึ่ง ไดคะแนนเฉลี่ย สูงสุด สวนเรื่องการนับจํานวนเพิ่ม – ลด ไดคะแนนเฉลี่ยต่ําที่สุด 2. ความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปที่ 2 ที่มีตอวิธีการจัดประสบการณโดยใช เกมการศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณตามคูมือครู พบวา เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปที่ 2 กลุมทดลองที่จัดประสบการณโดยใชเกมการศึกษาและเพลงโดยภาพรวมมีระดับความพอใจมากใน ทุกดาน

ตัวอย่างเครื่องมือและแผนที่ใช้ในวิจัย
















สรุปตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตัวเลขกับเด็กอนุบาล
      ครูอแมนดา แม็กเคนนา หัวหน้าครูระดับชั้นป.1-2 ครูที่โรงเรียนประถมเกรตบาร์ ในเบอร์มิงแฮม เชื่อว่าการเรียนคณิตศาสตร์ควรสนุกและเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ที่โรงเรียนเกรตบาร์ การเรียนรู้อย่างอิสระผ่านการเล่นเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ของนักเรียน 

      ขณะนี้โรงเรียนกำลังมุ่งส่งเสริมให้เด็กๆรู้สึกเป็นอิสระที่จะขบแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ด้วยต้วเอง และพัฒนาทักษะเช่น การจดจำตัวเลข การจัดลำดับและการคำนวณไปด้วย ในรายการครูจะสาธิตวิธีประเมินเด็กๆผ่านการสังเกตการณ์ในแต่ละวัน และวิธีนำข้อมูลที่ได้เข้าที่ประชุมครูเพื่อวางแผนการสอนต่อไป โรงเรียนเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า หากเด็กๆรู้สึกสนุกกับวิชาเลขตั้งแต่ชั้นเล็กๆแล้ว ผลการเรียนรู้ในชั้นปีอื่นๆก็จะเปลี่ยนไปในทางดีด้วย
     
image

สื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


อุปกรณ์
1. ขวดน้ำและฝาขวดน้ำที่ใช้แล้ว
2. กระดาษสี
3. กรรไกร
4. กาว
5. ดินสอสี
วิธีทำ
1. ตัดขวดน้ำบริเวณจากฝาขวดลงมาประมาณ3นิ้ว
2. ตัดกระดาษสีเป็นรูปต้นไม้ แล้ววาดรูปแอปเปิ้ลลงบนต้นไม้
3. นำขวดน้ำที่เราตัดแล้ว มาติดกาวยืดติดกับกระดาษ
4. วาดแอปเปิ่้ลให้ขนาดพอดีกับฝาขวดน้ำ
5. ตัดกระดาษเป็นวงกลม2แผ่น แบ่งช่องให้เท่าๆกัน4-6ช่อง เขียนจำนวนบวก และจำนวนลบอย่างละ1แผ่น
6. เจาะรูตรงกลางกระดาษวงกลม ใช้กระดาษแข็งตัดเป็นรูปลูกศรให้หมุนได้
7. นำไปทดลองใช้จริง
จะได้อะไรจากสื่อชิ้นนี้?
-เด็กสามารถบวกลบจำนวนได้
-เด็กจะได้เรียนรู้เลขฮินดูอารบิก
-เด็กได้ฝึกหมุนฝาขวด ช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก

image
สรุปบทความคณิตศาสตร์
เรื่อง เจาะคณิตศาสตร์ปฐมวัย 
พ่อแม่ทราบหรือไม่ลูกๆเรียนอะไรกัน
          สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นวัยเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต ชอบเล่น และสำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว การส่งเสริมให้เด็กในวัยนี้มีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ ไม่เพียงส่งผลให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ในศาสตร์อื่น ๆ คณิตศาสตร์จึงมีบทบาทสำคัญทั้งในการเรียนรู้และมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต
         ส่วนเทคนิคจูงใจให้เด็กๆ สนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์อีกประการหนึ่งคือ ให้เด็กได้เรียนรู้ และค้นพบสิ่งท้าทาย ด้วยกิจกรรม และเกมที่ช่วยฝึกทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กได้ร่วมสนุกพร้อมสอดแทรกเนื้อหาความรู้เข้าไปนั่นเอง ซึ่งหากไม่มีในหนังสือที่โรงเรียนจัดหามาให้ ก็อาจไปหาซื้อเองได้ตามร้านหนังสือทั่วไป ซึ่งเป็นโอกาสดีของพ่อแม่ในยุคนี้ที่ (เคยไม่ชอบคณิตศาตร์เอาเสียเลย) จะได้ลองเรียนรู้ และหากิจกรรมสนุก ๆ มาเล่นกับลูกไปพร้อม ๆ กับการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

วันพุธ ที่3 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

   วันนี้พวกเราได้นำเสนอสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่แต่ละกลุ่มได้คิดประดิษฐ์ขึ้นมา โดยในกลุ่มของหนูได้ทำสื่อที่มีชื่อว่า "โรงเรียนหรรษา" เดี๋ยวเราลองไปดูขั้นตอนการทำกันเลย

อุปกรณ์
1. ฟิวเจอร์บอร์ด
2. กระดาษสีแข็ง    
3. แกนกระดาษทิชชู่  
4. ฝาขวดน้ำ 
5. แผ่นใส  
6. เทปกาว
วิธีการทำ 
1. ตัดฟิวเจอร์บอร์ดออกมาแล้วทำเป็นตัวฐาน
2. พับกล่องที่มีขนาดต่างกัน 5 กล่อง
3. นำกล่องและแกนกระดาษทิชชู่ที่หุ้มกระดาษสีแล้วมาติดเข้ากับฟิวเจอร์บอร์ด
4. ทำที่ใส่ตัวเลขให้ติดกับตัวกล่องที่พับขึ้นมา โดยใช้เทปกาวหนังไก่และแผ่นใส
5. ตัดประดาษสีแปะกับกระดาษแข็งทำเป็นหลังคาให้ดูคล้ายกับโรงเรียน
วิธีการเล่น 
นำฝาที่นำมาหยอดใส่กล่องทั้ง 2 ฝั่ง และนำตัวเลขฮินดูอารบิกมาแทนค่าจำนวนฝาที่หยอดลงไป ฝาจะไหลลงมาที่กล่องใหญ่ นับจำนวนฝาและแทนค่าด้วยเลขฮินดูอารบิก

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

เด็กๆจะได้สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่องจำนวน การใช้จำนวนบอกปริมาณและนำฝามาจัดแยกหมวดหมู่โดยการตั้งเกณฑ์ได้ และยังได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงเรขาคณิตจากรูปทรงของโรงเรียนหรรษา
และอาจารย์ได้บอกว่า การที่ได้จัดทำสื่อขึ้นมาแล้วควรที่จะทำให้ดีที่สุด ใช้ได้นานๆ สามารถนำไปสอนได้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ไม่ใช่เล่นได้แบบเดียว และเราควรคำนึงถึงค่าใช้จ่าย พยายามใช้สื่อที่เราหาได้ทั่วๆไป

image

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

วันพุธ ที่26 เมษายน พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้ในแต่ละกลุ่มได้ออกไปทดลองสอบแผนให้อาจารย์จ๋าดู จะมีทั้งหมด5กลุ่ม และแต่ละกลุ่มมีตัวแทน1คนเป็นตัวแทนของกลุ่มออกไปสอน โดยคนที่เหลือก็ช่วยเพื่อนเตรียมสื่อ และออกไปเป็นผู้ช่วยให้เพื่อนด้วย
วันจันทร์ หน่วยเรื่อง กระเป๋า (ชนิดของกระเป๋า)
วันอังคาร หน่วยเรื่อง บ้าน (ลักษณะของบ้าน)
วันพุธ หน่วยเรื่อง ยานพาหนะ (การดูแลรักษาของยานพาหนะ)
วันพฤหัสบดี หน่วยเรื่อง กระต่าย (ประโยชน์ของกระต่าย)
วันศุกร์ หน่วยเรื่อง เสื้อ (ข้อพึงระวังของเสื้อ)


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

การสอบสอนในครั้งนี้ ทำให้เราได้รู้จักเขียนแผนและการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กหลากหลาย เพราะแผนที่ทุกคนเขียนก็ไม่เหมือนกัน ทุกคนมีแนวทางการเขียนเป็นของตัวเอง แต่ท้ายที่สุดเป้าหมายเราก็จะเหมือนกันคือการสอนเด็กออกมาให้ดีที่สุด รวมทั้งอาจารย์ได้เสนอแนะ ในสิ่งที่เรามองไม่เห็น เราคิดว่ามันดีแล้ว แต่จริงๆมันยังมีข้อผิดพลาดอีกเยอะมาก ในครั้งต่อไปเราจะปรับปรุงการสอนให้ดียิ่งขึ้นค่ะ


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วันพุธ ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอสื่อของตนเองที่ได้หามา ร่วมกันวิเคราะห์ว่าสื่อชิ้นนี้เหมาะสมหรือไม่ และในแต่ละชิ้นมีข้อดี ข้อเสียคืออะไร สามารถนำไปจัดกิจกรรมกับเด็กได้อย่างไรบ้าง

ประโยชน์ที่จะได้รับ

-ได้พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก จากการหมุนฝาขวดนำ
-เด็กได้เรียนรู้เรื่องจำนวน
-สามารถบวกลบจำนวนได้

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันพุธ ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์ได้แนะนำเกมการศึกษา และจะแบ่งให้แต่ละคนไปทำ โดยอาจารย์ย้ำวาต้องแข็งแรงและใช้ได้นานๆ เพราะไหนๆเราก็ได้เสียเวลาลงมือทำไปแล้ว ให้เด็กได้เอาไปใช้แล้วเกิดประโยชน์สูงสุด ตัวอย่างเกมมีดังนี้
เกมฝึกสานกระดาษสี 

 เกมหมุนฝาขวดหลายๆขนาดแตกต่างกันออกไป

 เกมเปรียบเทียบขนาดสิ่งของชนิดเดียวกัน

เกมภาพตัดต่อ

เกมลอตโต้

การนำความรู้ไปประยุกต์

การทำเกมการศึกษาเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เพราะเกมการศึกษาแต่ละชนิดมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป เพราะถ้าหากเราจะนำเกมมาให้เด็กเล่นแล้ว เราต้องคำนึงถึงผลที่ตามมาทุกๆอย่าง ว่าจะเหมาะสมกับวัยของเด็กมั้ย จะปลอดภัยหรือเปล่า เราเป็นครูเราต้องคิดอย่างรอบคอบ ให้เกิข้อผิดพลาดน้อยที่สุด

วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วันพุธ ที่29 มีนาคม พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

หลักสูตร คือ แนวทางในการจัดประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา เพื่อให้เด็กมีคุณลักษณะที่เหมาะสมกับวัย
ด้านร่างกาย - กล้ามเนื่อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่  การเคลื่อนไหวและมีสุขภาพที่ดี
ด้านอารมณ์ - รับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น แสดงออกทางอารมณ์ได้
ด้านสังคม - การช่วยเหลือตนเองได้ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ มีคุณธรรมและจริยธรรม
ด้านสติปัญญา - ภาษา (ฟัง พูด อ่าน เขียน) คิด (สร้างสรรค์และมีเหตุผล)
สาระที่เด็กควรเรียนรู้ : ประสบการณ์ที่สำคัญ
สาระที่ควรเรียนรู้ (เนื้อหา) 
- ตัวเรา
- บุคคล สถานที่
- ธรรมชาติ
- สิ่งแวดล้อม

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

การจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมได้จะต้องมีการวางแผน เขียนแผนก่อนที่จะนำไปจัดประสบการณ์ให้กับเด็กจริงๆ ฉะนั้น จึงจำเป็นต้องรู้สาระที่เด็กควรเรียนรู้และต้องส่งเสริมพัฒนาการของเด็กเพื่อวางรากฐานให้เด็กเป็นผู้ใหญ่ที่ดีได้ในอนาคต

วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันพุธ ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

*เนื่องจากในวันนี้อาจารย์ติดธุระงานมหาวิยาลัย*

จึงได้ทำบอร์ดงานตามที่ได้รับมอบหมายไว้เป็นกลุ่ม





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วันพุธ ที่15 มีนาคม พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์แจกดินน้ำมัน ให้แต่ละคนปั้นรูปทรงต่างๆของตนเอง

หลังจากนั้นอาจารย์ให้นำไปรวมกับเพื่อนอีก1คนแล้วสร้างขึ้นมาเป็นรูปทรงใหม่ โดยสร้างออกมาเป็นรูปร่างสามมิติ และหลังจากนั้นนำไปวางหน้าชั้นเรียน เพื่อวิเคราะห์กันว่าแต่ละแบบต่างกันอย่างไร

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

จากการเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้สอนเด็ก เด็กจะได้รู้เกี่ยวกับรูปทรงเรขาคณิตรูปทรงต่างๆ และยังมีการสังเกต เปรียบเทียบ มีด้านกี่ด้าน มีมุมกี่มุมอีกด้วย


วันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วันพุธ ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

            อาจารย์สอนการคาดคะเนลูกอมในขวดโหลว่ามีทั้งหมดกี่เม็ด ทำให้เด็กได้ฝึกการใช้ความคิดวิเคราะห์ คาดคะเนข้อมูลและความน่าจะเป็น ซึ่งการเรียนสอดคล้องกับสาระที่4 มาตรฐาน ค.ป. 4.1
การนับจำนวนลูกอมและใช้ตัวเอขเป็นตัวกำกับ สอดคล้องกับสาระที่ 1 มาตรฐาน ค.ป. 1.1

        และในวันเดียวกันอาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ของกลุ่มตัวเอง ซึ่งแต่ละกลุ่มหัวข้อจะไม่ซ้ำกัน โดยแบ่งการสอนออกเป็น5วัน โดยกำหนดหัวเรื่องให้สอดคล้องกับเด็ก และในอาทิตย์หน้าต้องออกมาแบ่งกันสอนคนละหัวข้อ ให้ครบ5วัน

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

การที่เรานำสิ่งที่มีอยู่รอบๆตัวมาประยุกต์ใช้ในการสอนคณิตศาสตร์ และเราต้องยึดและคำนึงถึงตัวเด็กเป็นสำคัญ ว่าสิ่งที่เราสอนเขาจะได้พัฒนาการอะไรไปจากเรา และรวมไปถึงให้สอดคล้องกับมาตรฐานสาระการเรียนรู้อีกด้วย

image

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันพุธ ที่ 15 ภุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

Project Approach
"ในหลวง" แบ่งการดำเนินออกเป็น3ระยะ ได้แก่
-ระยะที่ 1 ระยะเริ่มต้น ครูและเด็กแลกเปลี่ยนประสบการณ์เดิม ตั้งคำถาม โดยได้คำถามที่น่าสนใจ คือ ข้าวสามารถทำอาหารอะไรได้บ้าง
-ระยะที่ 2 ระยะพัฒนา คุณครูจัดโครงการขึ้นมา ทำให้เด็กเกิดประสบการณ์ใหม่ โดยเด็กๆและครูได้ร่วมกันทำ ไข่พระอาทิตย์
-ระยะที่ 3 ระยะสรุป คุณครูได้จัดให้เด็กแลกเปลี่ยนความรู้ ประเมินผลสะท้อนกลับจากการทำไข่พระอาทิตย์ แล้วยังใช้หลักการ STEM เข้ามาช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้
            ได้แก่            Science            วิทยาศาสตร์
                                 Technology      เทคโนโลยี
                                 Engineering     วิศวกรรมศาสตร์
                                 Mathematics    คณิตศาสตร์

สื่อนวัตกรรมการสอน
"สื่อที่ไม่พังคือสื่อที่ไม่มีคุณภาพ"
ถ้าสื่อชิ้นใดที่เด็กได้เล่นหรือจับอยู่บ่อยๆ สภาพก็จะขาดชำรุด แต่ถ้าสื่อดูสวยงามอยู่ คือเด็กไม่จับเล่น ไม่น่าสนใจนั่นเอง


แผนการจัดการเรียนรู้
ในการจัดการเรียนการสอนของรัฐบาลและเอกชนมีความแตกต่างกัน มีวิธีการเขียนแผนการสอนที่แตกต่างกัน แต่เน้นการพัฒนาการเด็กทั้ง4ด้านของเด็กเหมือนกัน ครูจะไม่สอนให้เด็กหัดเขียนหัดอ่าน เพราะเด็กจะไม่ได้พัฒนาการทักษะที่เป็นไปตามวัย

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

พี่ๆปฐมวัยชั้นปีที่5 ได้ให้ความรู้ที่หลากหลายในการที่จะนำไปเสริมประสบการณ์ให้กับเด็กในอนาคต ทั้งวิธีเรียนแบบProject approach เรียนรู้สื่อนวัตกรรมที่ไว้เาริมประสบการณ์ให้กับเด็กๆ และแผนการจัดการเรียนการสอน

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันพุธ ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย (ต่อจากครั้งที่แล้ว)

สาระที่ 3 เรขาคณิต
-มาตรฐาน ค.ป. 3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง
-มาตรฐาน ค.ป. 3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต
ตำแหน่งทิศทางและระยะทาง
-การบอกตำแหน่ง
รูปเรขาคณิตสามมิติ และรูปเรขาคณิต2มิติ
-ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย
-รูปวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม
-การสร้างสรรค์ศิลปะ รูปเรขาคณิต

สาระที่ 4 พีชคณิต
-มาตรฐาน ค.ป. 4.1 แบบรูปและความสัมพันธ์ แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง

สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.ป. 5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเอง

สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
แก้ปัญหา การใช้เหตุผล

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

วันนี้ได้เรียนรู้มาตรฐานของคณิตศาตร์ครบแล้ว ทำให้เรารู้ว่าแต่ละสาระมีอะไรบ้าง เพราะเหล่านี้จะเป็นความรู้พื้นฐานที่เราควรรู้ เพื่อเป็นความรู้ที่เราจะเอาไปไว้ประกอบการสอนเด็กๆต่อไป



วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันพุธ ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

              ความรู้เชิงคณิตศาสตร์ มี 4 ประเภท
-ความรู้ทางกายภาพ (Physical Knowledge)
ความรู้ที่ได้จากการสังเกตสิ่งต่างๆด้วยการรับรู้จากประสาทสัมผัส ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
-ความรู้ทางสังคม (Social Knowledge)
ความรู้ที่ได้จากการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น เป็นสิ่งที่เราได้รับจากการเรียนรู้
-ความรู้เชิงตรรกศาสตร์คณิตศาสตร์ (Logical-mathematic Knowledge)
การเข้าใจความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ จากการสังเกต สำรวจ และทดลอง กระทำสิ่งต่างๆ
-ความรู้เชิงสัญลักษณ์ (Symbolic Knowledge)
การแสดงสิ่งที่เรียนรู้ด้วยสัญลักษณ์ สามารถสร้างเป็นความรู้เชิงตรรกะคณิตศาสตร์

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
เป็นการประเมินคุณภาพขั้นต่ำ ใช้ในการประเมินและตัดสินใจ
สาระและมาตรฐาน
-จำนวนและการดำเนินการ
-การวัด
-เรขาคณิต
-พีชคณิต
-การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
-ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค..11 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
จำนวน
-การใช้การบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
-การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
-การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
-การเปรียบเทียบจำนวน
-การเรียงลำดับจำนวน
การรวมและการแยกกลุ่ม
-ความหมายของการรวม
-การรวมสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่มีผลไม่เกิน10
-ความหมายของการแยก
-การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ จำนวนไม่เกิน10
สาระที่ 2 การวัด
มาตรฐาน ค..21 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา ความยาว น้ำหนัก และปริมาตร
การเปรียบเทียบ/การวัด/การเรียงลำดับ
การเปรียบเทียบ/การชั่ง/การเรียงลำดับน้ำหนัก
การเปรียบเทียบปริมาตร/การตวง
เงิน
-ชนิดและค่าของเงิน
เวลา
-ช่วงเวลาในแต่ละวัน
ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

เราสามารถจดจำความรู้ในอาทิตย์นี้ไปสอบบรรจุได้เลย และไม่เคยรู้มาก่อนว่าสาระและมาตรฐานคืออะไรค่ะ จนได้มาเรียนในคาบนี้

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันพุธ ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560

**ไม่ได้มาเรียน เนื่องจากอาหารเป็นพิษ ขออนุญาตินำข้อมูลจากblogของณัชชา มาอ้างอิงค่ะ**

ความรู้ที่ได้รับ

ความหมายของคณิตศาสตร์
   - วิชาว่าด้วยการคำนวณทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ การนับ การคำนวณ การประมาณ มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน เด็กใช้คณิตศาสตร์อย่างง่ายจากความคิดของตนเองแล้วค่อยๆพัฒนาถึงความคิดแบบคณิตศาสตร์อย่างถูกต้อง

ความสำคัญของคณิตศาสตร์
   - คณิตศาสตร์เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ เป็นวิชาเกี่ยวกับการคิดที่มีเหตุผลสามารถพิสูจน์ได้ เป็นเครื่องมือที่ใช้ฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ สร้างคนให้มีนิสัยรอบคอบ และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ประโยชน์ของคณิตสาสตร์
   - ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน คณิตศาสตร์จะนำเด็กไปสู่ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
   ➤การนับ (Counting)                    ➤ตัวเลข (Number)                     ➤การจับคู่ (Matching) 
   ➤การจัดประเภท (Classification)  ➤การเปรียบเทียบ (Comparing)   ➤การจัดลำดับ (Ordering)
   ➤การวัด(Meusurement)              ➤เศษส่วน (Fraction)                  ➤เซ็ต (Set)
   ➤รูปทรงหรือเนื้อที่ (Shape and Space)           ➤การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning)
   ➤การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservation)

เพลงคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย

 

เพลงนับนิ้วมือ
นี่คือนิ้วมือของฉัน           มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว          มือขวาก็มีห้านิ้ว
นับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า                       นับต่อมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบ
นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ                      นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ


เพลงลูกแมวสิบตัว
ลูกแมวสิบตัวที่ฉันเลี้ยงไว้        น้องขอให้แบ่งไปหนึ่งตัว
ลูกแมวสิบตัวก็เหลือน้อยลงไป       นับดูใหม่เหลือลูกแมวเก้าตัว
(นับน้อยลงไปเรื่อยๆ)


เพลงแม่ไก่ออกไข่
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง ไข่วันฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน หนึ่งวันได้ไข่หนึ่งฟอง
(นับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ)


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

การสอนแบ่งกลุ่ม เช่น แบ่งเด็กที่ตื่นก่อน 6 โมงเช้ากับตื่นหลัง 6 โมงเช้า โดยใช้ป้ายชื่อที่เด็กได้ออกแบบขึ้นไปแปะตามเวลาตื่นของตนเอง สามารถช่วยสอนเรื่องเวลา การนับจำนวน เอาเรื่องการอนุรักษ์ (conservation) เข้ามาใช้ นอกจากนี้เด็กยังได้พัฒนาสติปัญญาในด้านความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบป้ายชื่อด้วย


วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันพุธ ที่18 มกราคม พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

การอนุรักษ์ (Conservasion)
สื่อจำเป็นต้องเป็นรูปธรรม เด็กจะมองเห็นภาพมากกว่าที่เป็นรูปสื่อเพียงอย่างเดียว
-การนับ
-การจับคู่ภาพ 1ต่อ1
-เรียงลำดับ
-เปรียบเทียบรูปทรง

"เลือกสื่อสาระที่เหมาะสมและทักษะที่สอดคล้องกับพัฒนาการ"

เจอโรม บรูเนอร์ (Jerome Bruner)
1. ขั้นเรียนรู้จากการกระทำ
ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทรับรู้สิ่งต่างๆ การลงมือช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ เด็กเรียนรู้จากการกระทำ
2. ขั้นเรียนรู้จากความคิด
สร้างมโนภาพในใจได้
3. ข้นเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม
เรียนู้สิ่งที่ซับซ้อนขึ้น และเป็นนามธรรมได้

เลฟ ไวก็อตสกี้ (Lev Vygotsky)
เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในสภาพแวดล้อมของเขา และจากความร่วมมือของเพื่อรุ่นราวคราวเดียวกัน เป็นกระบวนการที่สนับสนุน เพิ่มพูนพัฒนาการ ทำให้พัฒนาการเกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายใน นั่นคือเด็กที่กำลังจะเริ่มข้ามไป และประสบความสำเร็จในระดับที่สูงขึ้น ต้องได้รับความช่วยเหลือ ที่มีสมรรถนะมากกว่าการสนทนา การสนทนาระหว่างผู้ปกครองกับเด็กเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

เพลงคณิิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (18/01/60)
เพลง ขวด5ใบ
ขวด5ใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวดกี่ใบวางอยู่บนกำแพง
(ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวดหนึ่งใบ)
ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง
______________________________________________________

เพลง เท่ากัน-ไม่เท่ากัน
ช้างมีสี่ขา                  ม้ามีสี่ขา
คนเรานั้นหนา           สองขาต่างกัน
ช้างม้า                      มีสี่ขาเท่ากัน
แต่กับคนนั้น             ไม่เท่ากันเอย
______________________________________________________

เพลง บวก-ลบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ          ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีสิเออ        ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ      หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ        ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ
______________________________________________________


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

ได้เรียนรู้ทฤษฎีของนักทฤษฎีต่างๆไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนสอนเด็ก และวันนี้ยังได้เพลงเกี่ยวกับคณิตศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอีกด้วย